iPhone

Apple ต้องเตรียมตัว เพื่อหาโรงงานใหม่ หลากจากได้รับผลกระทบ จากนโยบายคุมโรคของ จีน

นับได้ว่าเป็นการ สร้างความหายนะ ที่ส่งผลต่อธุรกิจที่มีฐานการผลิต และโรงงาน เมื่อทางการจีน มีนโยบายควบคุมโรคระบาดออกมา โดยความน่ากังวลนี้ก็คือ หากพบผู้ติดเชื้อเมื่อไหร่ ทางเจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรัฐบาล จะเข้าทำการปิดล้อมพื้นที่ทันที โดยไม่สนใจว่าพื้นที่นั้น จะเป็น บ้านหรือโรงงานอุตสาหกรรม จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

และหลายๆ บริษัทที่มีฐานโรงานผลิตในจีน เจ็บหนักกับเรื่องนี้พอสมควร เนื่องจากไม่สามารถผลิตและส่งสินค้า ได้ตามกำหนดการ อีกทั้งยังต้องสูญเสียค่าใช้จ่าย ระหว่างถูกปิดล้อมไป ในทุกๆ วัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการณ์ ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้อย่างหนัก แต่คนจีนเจ็บจากเรื่องนี้มากกว่า เพราะเมื่อผู้ประกอบการ ไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งออกได้ ก็จำเป็นต้องลดต้นทุน ด้วยการปรับลดแรงงาน

และ Apple ก็เป็นหนึ่งในผู้ได้รับบาดเจ็บจากเรื่องนี้ , ทีม RJ ได้สืบค้นข้อมูลที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ ยอดขายสินค้าของแอปเปิ้ลจากการรายงานบัญชีสิ้นสุด รอบปีบัญชี ณ วันที่ 24 กันยายน 2565 พบว่าสินค้าขายดีของ Apple 3 อันดับแรก จากรายได้กว่า 394,328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นดังนี้

อันดับที่ 1 : iPhone ทำรายได้ 205,489 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 52.1% ของรายได้ทั้งหมด
อันดับที่ 2 : Mac คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและพกพา ทำรายได้ 40,177 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 10.1% ของรายได้ทั้งหมด
อันดับที่ 3 : iPad ทำรายได้ 29,292 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 7.4% ของรายได้ทั้งหมด

iPhone

จากข้อมูลนี้ พบว่า รายได้เกินครึ่งของ Apple มาจากไอโฟน ที่ทุกคนรู้จักและใช้กันเป็นอย่างดี

จึงทำให้การเปิดตัวไอโฟนในแต่ละครั้งจะหมายถึงความหวังของบริษัท และนักลงทุนที่จะได้กำไรจากการขายสินค้ารวมไปถึงการลงทุนในหุ้น AAPL แต่ถ้าจับความสัมพันธ์ของราคาหุ้น Apple (AAPL) ณ วันที่มีการพรีออเดอร์ iPhone14 ในวันที่ 9 กันยายน 2565 พบว่าราคาหุ้นอยู่ที่ 157.37 ดอลลาร์สหรัฐ

แต่ ในวันนี้ (11 พฤศจิกายน 2565) ราคาหุ้นกลับตกลงมาที่ 146.87 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงไปถึง 6% หุ้น AAPL ตก หลังจากเปิดตัว iPhone14 เกิดอะไรขึ้นกับสินค้าเรือธง ทำเงินอย่าง iPhone? อ้างอิงจาก Counterpoint Research’s Jeff Fieldhack พบว่า Apple มีการจ้างงานเป็นจำนวนมากประมาณ 200,000 คน ในโรงงานที่เมืองเจิ้งโจว ของจีน ซึ่งด้วยขนาดของแรงงานที่มาก

ทำให้ทางบริษัท สามารถต่อรองเรื่องชิปประมวลผลจากทางการจีน เพื่อนำมาซึ่งการผลิต รวมไปถึงการที่ให้ความสำคัญฐานการผลิตในจีนมากกว่าในสหรัฐ เพื่อป้องกันเรื่องมาตรการกีดกันด้านภาษีระหว่างจีนและสหรัฐ แต่อย่าลืมข้อความที่กล่าวไปตั้งแต่ต้นว่า จีน ภายใต้การนำของ สี จิ้นผิง ก็ยังยืนยันการใช้นโยบายโรคติดต่อเป็นศูนย์อยู่ จึงทำให้เหตุผล ที่จากเป็นข้อได้เปรียบในการส่งสินค้า

กลายเป็นข้อเสียเปรียบไปในชั่วข้ามคืน อ้างอิงเพิ่มเติมจาก JPMorgan สิ่งที่ Apple ได้ตัดสินใจฝากฝีฝากไข้กับจีน ส่งผลให้ การส่งสินค้าเรือธง ทำรายได้อย่าง iPhone14 ไปถึงมือลูกค้าใช้เวลาถึง 31 วันจากการซื้อผ่านเว็บไซต์ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความนิยม รวมไปถึงความพึงพอใจ ในการรับสินค้าที่ล่าช้า จนคู่แข่งอาจจะได้ประโยชน์ จากเวลาที่ต้องรอคอยนานประมาณ 1 เดือน

Apple เริ่มไหวตัว หาโรงงานใหม่ กระจายความเสี่ยง จากบาดแผล?

แม้ว่า Apple จะมีโรงงานส่วนใหญ่ในจีน แต่ก็ต้องบอกว่าบริษัทมูลค่าตลาดกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ต้องวางแผนในเรื่องอนาคตมาระดับหนึ่ง อ้างอิงข้อมูลจาก Constellation Research ได้ให้ข้อมูลว่า Apple ก็มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนอื่นๆ ในรูปแบบของ Supplier เช่นกัน เพียงแต่ตอนนี้มองว่า อาจจะถึงเวลาที่บริษัท

จะต้องกระจายความเสี่ยงไปในประเทศอื่นๆที่นอกเหนือจากจีน เพราะการ Lockdown ที่ผ่านมาๆส่งผลต่อกำลังการผลิต iPhone ทั้ง iPhone 14 Pro และ iPhone 14 Pro Max ที่ลดลงถึง 1 ใน 10 ในขณะที่ความต้องการยังมีเท่าเดิมและเพิ่มมากขึ้น เพราะแม้ว่าตอนนี้สินค้าโทรศัพท์มือถือ ของ Apple จะสามารถประกอบได้ ในไลน์การผลิตที่นอกจากจีน

แต่ด้วยสัดส่วน ที่ยังพึ่งพิงจีนอยู่พอสมควร ต่อให้เพิ่มกำลังการผลิตในประเทศอื่นๆ ก็ยังไม่สู้ได้กำลังการผลิตจากจีน กลับมาเหมือนเดิม ทำให้เจ็บครั้งนี้ของ Apple เลยเป็นบทเรียนราคาแพง จากการพึ่งพิงอย่างใดอย่างหนึ่งที่มากเกินไป จนต้องเริ่มหาที่พักพิง เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงของการผลิตและส่งสินค้าให้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ iPhone รุ่นต่อๆไป

ขอบคุณแหล่งที่มา : facebook.com/reporterjourney
สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : mauicoastcondo.com